โครงสร้างของสระว่ายน้ำ - Swimming Pool Structure

หลายคนอาจจะคิดว่า  “สระว่ายน้ำ” เป็นเรื่องไกลตัว เพราะการก่อสร้างก็ค่อนข้างยุ่งยาก การใช้งานก็ค่อนข้างยุ่งยาก ถ้าจะเทียบกับส่วนอื่นๆในบ้าน ค่าใช้จ่ายก็สูงทั้งการก่อสร้าง และการดูแลรักษา แต่ถ้าบ้านคุณมีความพร้อม การมีสระว่ายน้ำภายในบ้านก็มีประโยชน์ไม่น้อย

ก่อนที่คุณจะลงมือสร้างสระว่ายน้ำไว้เพื่อพักผ่อน หรือออกกำลังกายในบ้าน ก็ควรมารู้อะไรเกี่ยวกับสระว่ายน้ำกันเสียก่อน โดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทของสระว่ายน้ำ

  ตามลักษณะของการก่อสร้างออกเป็น 2 แบบคือ

1. สระว่ายน้ำคอนกรีต โครงสร้างของพื้นและผนังของสระ จะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด การติดตั้งกระเบื้อง จึงเหมือนการติดตั้งผนังโดยทั่วไป จากนั้นก็จะทำการติดตั้งเครื่องกรอง ปั๊มน้ำ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็น ควรออกแบบให้มีบ่อพักน้ำ อยู่ในระบบหมุนเวียนด้วย ข้อดีคือ แข็งแรง ทนทาน ออกแบบได้หลากหลาย แต่ค่าใช้จ่ายอาจจะสูง

2. สระว่ายน้ำแบบสำเร็จรูป ติดตั้งในพื้นที่ที่เตรียมการไว้ล่วงหน้าได้เลย โครงสร้างจะเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นกับผนังจะเป็นวัสดุประเภทโพลิเมอร์, ไฟเบอร์กลาส ที่ผลิดเป็นชิ้นงานจากโรงงาน อีกวิธีก็คือการขั้นด้วยโครงเหล็ก หรือพลาสติกหล่อ จัดวางระบบหมุนเวียนให้เรียบร้อย จากนั้นปูด้วยผ้าไวนิล ที่ผลิตสำหรับการนี้โดยเฉพาะ

**************************************

ระบบของสระว่ายน้ำ - Swimming Pool System

ระบบหมุนเวียนของสระว่ายน้ำ มีอยู่ 2 ระบบด้วยกันคือระบบดูด หรือ สกิมเมอร์ (Skimmer System) และ ระบบน้ำล้น หรือ โอเวอร์โฟลว์ (Overflow System)

  1. ระบบดูด หรือ สกิมเมอร์ (Skimmer system) ส่วนใหญ่จะเป็นสระว่ายน้ำแบบสำเร็จรูป ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือระดับของน้ำในสระจะไม่ถึงขอบสระ จะต่ำกว่าขอบสระประมาณ 10-15 ซม. มีช่องสกิมเมอร์ (Skimmer) ติดอยู่ขอบสระ เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่ผิวน้ำ น้ำในสระจะดูดผ่านโดยปั๊มน้ำ (Pump) ผ่านช่องสกิมเมอร์ เพื่อไปกรองในกระบวนการบำบัดน้ำ น้ำในสระจะหมุนเวียนผ่านเครื่องกรอง ( Filter ) ส่งต่อเข้ากระบวนการฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน ( Chlorine ), ระบบเกลือ ( Salt ) , โอโซน ( Ozone ) จึงค่อยส่งน้ำมาที่ตัวสระทางหัวพ่นน้ำ ( Inlet nozzle ) ที่ติดพ่นไว้ ช่องสกิมเมอร์ จะทำหน้าที่ดูดสิ่งสกปรกบนผิวน้ำ และเป็นที่ต่อสายดูด และแปรงดูด เพื่อทำความสะอาดใต้สระ มีข้อดีในการสร้างสระว่ายน้ำระบบนี้คือ ค่าก่อสร้างราคาถูกกว่าระบบน้ำล้น และมีน้ำหนักเบากว่า

  2. ระบบน้ำล้น  (Overflow System)  ส่วนมากในปัจจุบันใช้สระแบบคอนกรีต เพราะต้องออกแบบวางแนวรางน้ำ ตั้งแต่ขั้นตอนการเทคอนกรีต สระน้ำในระบบนี้จะแลดูสวยงามกว่าระบบดูด หรือ สกิมเมอร์ เพราะเมื่อฝุ่นละอองสัมผัสผิวน้ำแล้ว ก็จะล้นออกไป

    ขั้นตอนของสระระบบนี้คือ น้ำจะไหลลงรางระบายน้ำรอบสระ ไปสู่บ่อพักน้ำ ปั๊มจะทำหน้าที่สูบน้ำ สู่เครื่องกรอง เพื่อขจัดความสกปรกหมุนเวียนกันไป

    ข้อเสียในระบบนี้ คงจะหนีไม่พ้น เพราะราคาค่อนข้างจะสูง และต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญเท่านั้น และจะเพิ่มพื้นที่สำหรับถังเก็บน้ำสำรอง 

**************************************

ระบบกรองน้ำ ของสระว่ายน้ำ - Swimming Pool filtration system

เมื่อได้กล่าวถึงรูปแบบของสระต่างๆแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้คือ ระบบกรองน้ำ เพราะมีส่วนสำคัญมากในการหมุนเวียนน้ำซึ่งควรกำหนดระยะเวลาไว้ที่ 5-7 ชั่วโมง ส่วนของการถ่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดครั้งใหญ่นั้น ควรจะทำเป็น 5-10 ครั้งต่อปี

ระบบกรองน้ำที่ใช้ทั่วไปมีอยู่ 3 แบบคือ

ระบบกรองทราย (Sand Filter) เป็นระบบที่ง่าย และประหยัด เหมาะกับสระโดยทั่วไป เพราะมีหัวมัลติพอร์ทวาล์ว ควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามที่ต้องการ

- ระบบกรองผ้าด้วยผงกรอง (D.E. Filter) มีความละเอียดในการกรองน้ำได้ดีกว่าระบบกรองทราย แต่มีข้อเสียที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเติมผงกรอง และผ้ากรอง นอกจากระบบกรองแล้ว การบำบัดน้ำอาจจะมีวิธีอื่น เช่น การเติมน้ำยาปรับสภาพน้ำต่างๆด้วย

- ระบบกรองกระดาษ (Cartridge Filter) ระบบนี้จะมีความละเอียดในการกรองน้ำดีกว่ากรองทราย ด้อยกว่ากรองผ้า แต่มีข้อเสียคือ ต้องมีการเปลี่ยนไส้กรองกระดาษมากครั้งกว่า

***************************************

ภาพตัวอย่างการวางอุปกรณ์สระ ในห้องปั๊ม

ระบบฆ่าเชื้อของสระว่ายน้ำ - Swimming pool disinfection system

รายละเอียด ของการตรวจเช็คประจำวันของสระน้ำ

ในแต่ละวันควรจะมีการดูแลสระน้ำของท่าน อย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที โดยสามารถตรวจเช็คส่วนต่างๆได้ ดังนี้
1. ทดสอบค่า Br, Cl, pH ตอนเช้า 1 ครั้ง และก่อนปิดสระอีก 1 ครั้ง พร้อมปรับแต่ง คุณภาพของน้ำและเติมสารเคมีที่ขาดทันที
2. เช็คระดับน้ำในถังสำรองน้ำ SURGE TANK ให้มีเพียงพอตลอดเวลาพร้อมที่จะเดินเครื่องระบบกรอง ( ประมาณ 1 / 2 ของ TANK )
3. เช็คความดันที่เกจวัดความดันของเครื่องกรองว่าถึงเวลาล้างเครื่องกรองแล้วหรือยังพร้อมทั้งให้เปิดวาล็วไล่อากาศที่เครื่องกรอง ( AIR RELIEF VALVE ) ค่าแรงดันไม่เกิน 30 PSI
4. ดูดตะกอนพื้นสระทำความสะอาดบริเวณสระน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสระ
5. เดินเครื่องระบบกรองตามตารางเวลา
6. ตรวจตำแหน่ง เปิด – ปิด ของวาล์วในห้องเครื่องให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และอยู่ในสภาพที่ปกติ
7. ตรวจเช็คสารเคมีให้มีสำรองไว้ใช้อย่างพอเพียง เคมีของน้ำ ตารางด้านล่างนี้ทำการสรุประดับต่างๆ ที่แนะนำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับสระน้ำและ สปา ( The Association of pool and spa Professionals: APSP )

การใช้ชุดทดลองน้ำ ( TEST KIT )

1. เอาน้ำใส่ในหลอดทดลองถึงขีดที่กำหนด (นำน้ำในสระที่ความลึกไม่น้อยกว่า 18 นิ้วจากผิวน้ำ)
2. หยดน้ำยา OTO ในหลอดที่เช็คคลอรีน (Cl ) 5 หยด
3. หยดน้ำยา PHENOL – RED ในหลอดที่เช็คความเป็นกรด – ด่าง ( pH ) 5 หยด
4. ปิดฝาและเขย่า
5. เทียบระดับสีในหลอด กับ แถบสีด้านข้าง แล้วอ่านค่า
6. ปริมาณคลอรีนในสระควรมีประมาณ 1.0 – 1.5 PPM (mg/1)
7. ค่า pH จะต้องอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6 ซึ่งค่า pH จะบ่งบอกสถานภาพของน้ำว่ามีความเป็นกรด หรือ ด่าง
8. ถ้าปริมาณคลอรีนต่ำให้เติมคลอรีนประมาณ 30-40 กรัมต่อปริมาณน้ำ 1 m³
9. ถ้าปริมาณคลอรีนในสระมากให้เติมน้ำในสระหรือปล่อยทิ้งไว้คลอรีนจะจางเอง
10. ถ้า pH ต่ำกว่า 7.2 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นกรดให้ใส่โซดาแอซลงไปครั้งละประมาณ 30 กรัม ต่อปริมาณ น้ำ 1 m³ โดยนำโซดาแอซละลายในถังน้ำก่อน แล้วเทใส่ในสระและเช็คค่า pH อีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
11. ถ้า pH สูงกว่า 7.6 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นด่างให้ใส่กรดแห้ง / กรดเกลือ ที่ใช้สำหรับสระน้ำ ใส่ไปครั้งละไม่เกิน 20 กรัมต่อน้ำ 1 m³ และเช็คอีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
12. ถ้าค่า pH ไม่ดีขึ้นควรเติมเคมีเพื่อปรับสภาพน้ำตามข้างต้นอีก และเช็คค่า pH อีกครั้ง ทำดังนี้จนได้ระดับค่าที่กำหนด
หมายเหตุ น้ำยาสำหรับชุดทดลองน้ำเพื่อทดสอบ pH จะหมดอายุภายใน 6 เดือน และควรเก็บไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด

การดูแลรักษาอุปกรณ์สระน้ำ

อุปกรณ์ต่าง ๆ ของสระน้ำ ทั้งที่ติดตั้งภายในสระและรวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในห้องเครื่องกรอง ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลและรักษาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานพร้อมทั้งคงประสิทธิภาพและเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย ก็จะต้องซื้อหามาทดแทน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ในระดับหนึ่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ควรแก่การเอาใจใส่ดูแลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ ดังนี้

1). เครื่องกรองน้ำ
ควรดูแลไม่ให้น้ำหยดหรือรั่ว ถ้าซ่อมแซมได้ให้รีบซ่อมแซมอย่าทิ้งไว้นาน ซึ่งจะมีผลทำให้เสียหายมากขึ้น ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วย STAINDLESS STELL ให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้ามีคราบคล้ายสนิมเกิดขึ้นให้ใช้สก็อตไบรท์ชุบน้ำขัดจนสนิมหมด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้าเริ่มเป็นสนิมแล้วไม่ขัดออกก็จะกลายเป็นตามด ทำให้เครื่องกรองทะลุได้ ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาส หรือวัสดุใดที่ไม่ใช่โลหะให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งรวมทั้งใส่น้ำมันหล่อลื่นบริเวณน็อตและสายรัด

2). ปั๊มมอเตอร์
ควรตรวจเช็คปั๊มอย่าให้มีจุดรั่วหรือน้ำหยดเพราะเมื่อมอเตอร์ทำงานปั๊มจะดูดลมเข้าไปทำให้ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ปั๊มมอเตอร์จะร้อนทำให้ MECHANICAL SEAL ชำรุดและ ข้อต่อหน้าปั๊มหรือหลังปั๊มรั่ว ถ้าเป็นปั๊มที่ไม่ใช่โลหะ อาจทำให้อุปกรณ์ภายในร้อนจนละลายหรือตัวปั๊มเองชำรุดเสียหายได้

ถ้าการทำงานของปั๊มมอเตอร์ใช้นาฬิกาเป็นตัวควบคุมเวลาการทำงานให้หมั่นตรวจเช็ค โดยทดลองปิดปั๊มไว้สัก 30 นาที แล้วเดินปั๊มใหม่แล้วให้สังเกตุดูว่าดูดน้ำขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นต้องหาสาเหตุและรีบแก้ไข อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ตรวจดูว่าสายไฟที่ต่อเข้ากับมอเตอร์นั้นขันแน่นหรือไม่ ถ้าไม่แน่นอาจจะทำให้แผงไฟที่ตัวมอเตอร์หรือตัวมอเตอร์เองเกิดการใหม้ได้

การตรวจเช็คปั๊ม และ มอเตอร์

– ข้อต่ออยู่ในลักษณะที่ยังใช้การได้ดีหรือไม่ ถ้ารั่วให้แจ้งซ่อมโดยด่วน
– ขณะที่มอเตอร์ทำงาน ปั๊มสามารถดูดน้ำขึ้นได้หรือไม่
– เช็ดและทำความสะอาดมอเตอร์
– เอาขยะและใบไม้ออกจากตะกร้าสเตนเนอร์
– เอาจารบีใส่ที่น็อตสเตนเนอร์
– ใช้ CONTACT CLEANER ฉีดตรง CONTACT ของ MOTOR

3). อุปกรณ์ไฟฟ้า
– ตรวจเช็คน็อตที่ยึดต่อสายไฟให้แน่น
– ตั้งนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานของปั๊มให้ตรงกับเวลาจริง
– อย่าให้มีน้ำขังในห้องเครื่องเพราะทำให้ภายในห้องเครื่องมีความชื้นสูงซึ่งจะทำให้
อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดชำรุดเสียหายได้
– ทำความสะอาดตู้ไฟ ทั้งภายในและภายนอก

4). อุปกรณ์ทำความสะอาดสระ
อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เป็นพลาสติกห้ามทิ้งตากแดดเพราะจะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุการใช้งานสั้นลงอันเนื่องมาจากแสงแดด ( ULTRAVIOLET ) เช่น สายดูดตะกอน , แปรงไนล่อน , แปรงถูตะไคร่ ฯลฯ ส่วนน้ำยาเช็คคลอรีน ( OTO ) และน้ำยาเช็คความเป็น กรด – ด่าง( PHENOL – RED) ของน้ำนั้นมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน คือควรจะเปลี่ยนน้ำยาทุก ๆ 5 เดือน เพื่อความแน่นอน

5). ห้องเครื่อง
ควรดูแลอย่าให้น้ำขัง และมีแสงสว่างเพียงพอ และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ รวมถึงมีการระบายอากาศที่ดีโดยอาจจะติดพัดลมดูดอากาศเพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศได้สะดวก

สระว่ายน้ำไฟเบอร์กลาส (สำเร็จรูป)

สระว่ายน้ำแบบคอนกรีต

ถังกรองทราย - Sand Filter

ถังกรองผ้า - D.E. Filter

ถังกรองกระดาษ - Cartridge Filter


  • ระบบโอโซน เป็นระบบการนำเอาก๊าซโอโซน มาบำบัดน้ำในสระ  มีประสิทธิภาพสูง สามารถฆ่าเชื้อโรคในระยะเวลาอันสั้นกว่าระบบอื่น และไม่มีสารเคมีทุกชนิดตกค้างในน้ำ

  • ระบบยูวี น้ำจะไหลผ่านหลอด UV ที่ส่องรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นรังสีคลื่นสั้น ส่องไปที่น้ำ เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ โดยแสงอัลตราไวโอเลตหรือยูวีจะช่วยฆ่าเชื้อโรคและไวรัสได้ถึง 99.99% ทำให้น้ำสะอาด แต่ยังคงมีแร่ธาตุที่อยู่ในน้ำที่ไม่ทำอันตรายแก่พืช และสิ่งมีชีวิต เหมาะกับบ่อเลี้ยงปลา และ พืชน้ำ

  • ระบบคลอรีน เป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่นิยมใช้กันมาก เพราะมีราคาไม่แพงมากและมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำได้ดี  คลอรีนเป็นสารที่ทำให้เกิดความระคายเคืองกับผิวหนัง ดังนั้น การเติมคลอรีน ควรเติมในช่วงเย็นหลังจากที่ใช้สระเสร็จแล้ว และควรเปิดเครื่องกรองให้ทำงานทิ้งไว้อย่างน้อย  3-4 ชั่วโมง

  • ระบบเกลือ เป็นระบบที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำงานโดยการใช้น้ำเกลือ ธรรมชาติ ( NaCI = Sodium Chloride) มาผ่านขบวนการ ELECTROLYTIC PROCESS ของเครื่อง SALTCHLORINATOR มาทำการฆ่าเชื้อโรคในน้ำโดยเกิด SODIUM HYPOCHLORITE และ SODIUM CHLORIDE (NaCI)

  • ระบบน้ำแร่ หรือ เฟรซวอเตอร์ ระบบนี้ เป็นนวัตกรรมในการบำบัดสระว่ายน้ำแบบใหม่ ที่ช่วยให้สระว่ายน้ำใสสะอาด และปลอดภัย ใช้การบำบัดน้ำด้วยปฏิกิริยาเคมีจากประจุทองแดงและเงิน ซึ่งช่วยในการฆ่าเชื้อและควบคุมแบคทีเรียในน้ำได้ดี เหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่แพ้สารเคมี เป็นระบบที่ทำให้น้ำในสระ มีความใกล้เคียงกับน้ำดื่มมากที่สุด



ELITE POOL CO.,LTD. 111/424 soi rhummitpattana yak 7 , Tha Raeng Subdistrict, Bang Khen District, Bangkok 10220. TEL 0840018921, 0816992665